วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

มาวางแผนเกษียณกันเถอะ

มีคำถามว่าจะเกษียณเมื่อไหร่?
บางคนก็ตอบ 55 ปี  บางคน ก็ 60 ปี แล้วคุณหละวางแผนไว้อีกกี่ปีจะเกษียณ  อีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมืองใหญ่ๆ จะมีกลุ่มคนหนึ่งกลุ่มคือสังคมผู้สูงอายุ มากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับข้าราชการตอนนี้ก็ยังพอที่จะเบาใจได้ในระดับหนึ่งสำหรับเงินได้หลังเกษียณมีใช้แน่นอนซึ่งแน่นอนว่าโดยส่วนมากทุกคนจะเลือกเกษียณแบบรับเงินบำนาญ อาจจะด้วยสังคมไทยได้เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบวัตถุนิยมนำไปแล้ว อีกอย่างคือเงินเฟ้อขึ้นมากจากสมัยก่อนเคยซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 5 บาท ทุกวันนี้ก็กลายเป็น 50 บาท ทำให้กลุ่มผู้คนที่เกษียณเลือกใช้เงินบำนาญมากกว่าบำเหน็จ เพราะมีเงินใช้ทุกเดือนแน่ๆ ไม่เสี่ยง เพราะเงินบำเหน็จรับครั้งเดียวแล้วแต่ว่าจะนำไปบริหารจัดการเอง ความเสี่ยงจึงมีมากกว่าทั้งหากนำเงินไปลงทุนก็อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจเพราะถ้าหากนำเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยงมากๆ ไม่ได้เพราะเงินต้นหายไม่ได้ สำหรับความเสี่ยงจากการลงทุน จะนำเสนอในบทความต่อไป มาต่อในหัวข้อหลักกันดีกว่า

ทุกวันนี้เวลาเดินเร็วมากเชื่อหรือไม่ ลองถามคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปดูสิว่าเวลาเดินเร็วมากจริงมั้ย แป๊บๆ 25 แป๊บๆ 28 แป๊บๆ 30 ปีแล้ว จะทำอะไรก็ยังทำไม่ได้ทำอายุก็เกินแล้ว ฉะนั้นยิ่งคนที่มีภาระมาก ยิ่งต้องวางแผนการใช้ชีวิต การงาน การเงิน เพราะผ่านไป1 วัน มันคืออดีตแล้ว เราจึงจำเป็นต้องวางแผนและโฟกัสให้แน่ชัดถึงการใช้ชีวิต การทำงาน การเงินในอนาคต

ไม่ว่าคุณจะวางแผนอนาคตอาชีพตัวเองเป็นมือปืนรับจ้างตลอดอายุการทำงานหรืออยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองสิ่งสำคัญที่จะต้องมีคือเงินออมสำหรับฉุกเฉิน หลายทศวรรษมาแล้วหลายๆ ตำราบอกว่าต้องมี3-6 เดือนเป็นอย่างน้อย  จึงจะดำเนินชีวิตอยู่ได้ต่อไปอีกในสภาพที่ไม่เดือดร้อน  แต่...มีใครหลายคนอย่าว่าแต่ 3 เดือนเลย แค่บริษัทไม่จ่ายเงินเดือน 1 เดือน ก็มีปัญหามากแล้ว...สำคัญนะครับ ลองกลับไปดูเงินในกระเป๋าตัวเองหากสิ้นเดือนนี้ออฟฟิศประกาศไม่จ่ายเงินเดือน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ประจำเดือนจะไปเอามาจากไหน เดือนร้อนหนัก ดังนั้นเราต้องว่งแผนการใช้จ่าย การเก็บออม การชำระหนี้ การลงทุนให้ดี

วิธการที่จะทำให้การเกษียณของเรามีความสุขคือเราต้องตั้งเป้าหมายว่าหลังจากเกษียณเราจะมีชีวิตอยู่อีกกี่ปี ไม่ยากดูจากบรรพบุรุษของเราว่าท่านอายุยืนนานสุดกี่ปีบวกเพิ่มได้อีกนิดหน่อยเนื่องจากวิทยาการการแพทย์ก้าวหน้าผู้คนที่รับการรักษาทันและดูแลการใช้ชีวิตเป็นอย่างดีอายุจึงยืนยาวขึ้น
สมมติ ตอนนี้อายุ 40 ปี ตั้งใจเกษียณอายุ 55 ปี ดูจากประวัติของบรรพบุรุษแล้วอายุยืนบวกเพิ่มอีก3-5 ปี ได้ที่ 80 ปี ตั้งใจว่าจะใช้เงินหลังเกษียณเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท (ยังไม่รวมเงินเฟ้อ) 80-55 เท่ากับ 25 ปี × 360,000 เท่ากับ  9,000,000 บาท  ไม่เยอะไปเลยใช้มั้ยครับ เพราะนี่คือเงินอีก 15 ปีข้างหน้าที่เราต้องมี

เมื่อได้ยอดเงินที่จะใช้แล้ว ก็มาดูว่าเราเก็บสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินได้อีกในช่วงหลังเกษียณมีอะไรบ้าง
- เงินฝากธนาคาร
-เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
-ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่จะครบกำหนด
-กองทุนLTF,RMF
-ทองคำ
สำหรับเงินของสำนักงานประกันสังคมนั้นถ้าเราจะเลือกรับแบบบำนาญก็ขอให้เก็บไว้เป็นค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเตอร์เนต หรือคชจ.เบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น